Orthographic Projection



                       เรื่องภาพฉาย (orthographic projection)  สงสัยไหมครับว่าว่ามันคืออะไร แล้วมันจะฉายอะไรกันไปทำไม ครับมันมีที่มา แล้วก็ประโยชน์อย่างมากเลยครับ ถือได้ว่าเป็นพื้นฐานในการเขียนแบบเลยก็ว่าได้ เพราะนอกจากจะทำให้เราศึกษารูปแบบของชิ้นงานได้ในทุกๆด้านก่อนทำชิ้นงานจริง แล้ว ยังสามารถอธิบายแบบให้ช่างเข้าใจได้ง่ายด้วยครับ เพราะเป็นรูปแบบที่เข้าใจในระดับสากลเลยครับ

เอาหล่ะครับ มาดูกันว่าเราจะเขียนภาพฉายของวัตถุได้อย่างไรกันครับ เริ่มจากกล่องที่ผมกำหนดให้แต่ละด้านมีสีที่แตกต่างกันก่อนนะครับ จะได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ดูจากรูปจะมีด้าน A อยู่ด้านบน ผมเรียกว่า top view ด้าน B อยู่ด้านหน้า ก็เป็น front view และด้าน C ก็ให้เป็น side view แล้วกัน ส่วนอีกสามด้านที่เหลือ( ด้านใต้ ด้านหลังและ ด้านข้างอีกด้าน) เรายังไม่กล่าวถึงแล้วกันนะครับการเขียนภาพฉายแบบที่เราจะกล่างถึงนี้เรา เรียกว่าภาพฉายแบบมุมที่1 ( First angle Projection)
ทีนี้ก็จินตนาการต่อว่า ถ้าเราไปยืนมองแต่ละด้าน สิ่งที่เราเห็นจะเป็นอย่างไรมาดูกัน
แล้วถ้าเราฉายภาพสิ่งที่เราเห็นลงบนกระดาษหล่ะครับ
เป็นไงบ้างครับนึกภาพเดียวกันหรือเปล่าครับ ถ้าสังเกตุให้ดีจะเห็นว่า แนวของวัตถุจะตรงกันพอดี (ผมร่างเส้นเป็นแนวไว้ให้ดูครับ) หลังจากนั้น เรามาลองคลี่กระดาษออกให้เป็นระนาบเดียวกันดูนะครับ (ดูภาพด้านล่างประกอบนะครับ) เราจะเห็นด้านต่างๆของวัตถุวางตัวเรียงเป็นระเบียบ โดยจะแสดงให้เห็นด้านบน ด้านหน้าและด้านข้างของวัตถุ ว่ามีรูปแบบอย่างไรบ้าง นี่แหละครับสำหรับการเริ่มต้นเขียนแบบที่เราเรียกว่าการเขียนภาพฉาย (Orthographic Projection)
ทีนี้เรามาดูกันต่อครับ จากวัตถุที่เรามองในแต่ละด้าน จนมาแสดงเป็นภาพฉาย (orthographic projectionX) เราจะเห็นวัตถุจากภายนอกในแต่ละด้านเท่านั้น ส่วนภายในจะมีรูปแบบอย่างไร เราไม่สามารถจะมองเห็นได้ แต่ในงานเขียนแบบบางครั้งเราจำเป็นต้องแสดงแบบให้เห้นถึงภายในของชิ้นงาน นั้นๆ การเขียนแบบในอีกลักษณะหนึ่งที่เรียdว่าการเขียนถาพตัด (section) จึงถูกนำมาใช้ในงานเขียนแบบอยู่เสมอ ก่อนที่เราจะเข้าถึงขั้นตอนวิธีการเขียนแบบทั้งการเขียนภาพฉายและภาพตัด เรามาทำความเข้าใจในเรื่อง ภาพตัด (section) กันก่อน
ลองนึก ภาพของวัตถุทรงกล่องเหลี่ยมสักชิ้นหนึ่ง ในที่นี้ผมจะให้ด้านบนกล่องมีสีขาว ด้านหน้ากล่องมีสีเหลือง และด้านข้างกล่องเป็นสีแดง
ทีนี้ลองสมมุติแผ่นกระจกใสซักแผ่นที่มีคุณสมบัตทำให้วัตถุที่มันเลื่อนผ่าน โปร่งใสขึ้นมา มาวางด้านหน้าของกล่องที่มีสีเหลือง แล้วค่อยๆ เลื่อนชิ้นกระจกนี้ให้ไปอยู่กึ่งกลางของกล่อง ส่วนของกล่องที่กระจกนี้เลื่อนผ่านก็จะโปรงใสขึ้นมาจนเห็นภายในของกล่องชิ้นนี้ ส่วนที่ยังเป็นวัตถุที่แนบอยู่กับชิ้นกระจก(ที่เห็นเป็นแถบสีแดง)ก็จะเป็นรูปตัดด้านหน้า (section) ของกล่องใบนีุ้
ลองทำดูกับส่วนอื่นๆของกล่องใบนี้ เช่น ด้านบนของกล่อง
ด้านข้างของกล่อง
เราก็จะได้รูปตัดในแต่ละด้านของกล่องใบนี้ ทีนี้เมื่อเราทำความรู้จักกับ ภาพฉาย (Orthographic Projection) และ ภาพตัดของวัตถุ ( Section) เรามาเริ่มต้นเขียนแบบภาพฉฉายและภาพตัดกันครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น