การเขียนทัศนียภาพ (Perspective)เป็นการสื่อสารด้วยภาพที่ดีที่สุดในการที่จะทำให้เข้าใจถึงรูป แบบในการตกแต่งภายในได้ แต่การเขียนทัศนียภาพ ก็มีหลายวิธี แต่ที่นิยมใช้สำหรับงานออกแบบตกแต่งภายในจะแบ่งเป็น 1.การเขียนทัศนียภาพแบบจุดเดียว (ONE POINT PERSPECTIVE) 2.การเขียนทัศนียภาพแบบสองจุด (TWO POINT PERSPECTIVE) ส่วนการเขียนทัศนียภาพแบบสามจุด มักนิยมใช้กับการเขียนอาคารภายนอกที่มีขนาดใหญ่ จึงอาจจะอธิบายถึงบ้างพอเข้าใจ เรามาเริ่มต้นกันที่การเขียนแบบจุดเดียวก่อนแล้วกันครับ เริ่มต้นที่วัตุถุรูปทรงง่ายๆอย่างกล่องเหลี่ยมๆแล้วกันครับ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าการมองเห็นในธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นรางรถไฟหรือถนน ซึ่งที่จริงแล้วก็เป็นเส้นตรงที่ขนานไปจนสุดสายตา (a) แต่ที่เราเห็นกลับไม่เป็นเช่นนั้นครับ เราจะเห็นถนนหรือรางรถไฟค่อยๆเล็กลงไปเรื่อยๆจนกระทั่งไปชนกันที่ขอบฟ้า (b)เราอย่าไปสนใจเลยครับว่าทำไมจึงเห็นเป็นแบบนั้น แต่ที่เรากำลังจะทำก็คือ เราจะเขียนสิ่งที่เราเห็นอย่างไร
ทีนี้เรากลับมาที่กล่องเหลี่ยมๆตันๆของเราต่อ ถ้าเราจินตนาการว่ากล่องที่อยู่ตรงหน้าเรานี้มันยาวไปจนสุดสายตา เราก็จะเห็นว่ากล่องของเราจะเรียวแหลมและค่อยๆเล็กลงจนหายไปเช่นกัน
เอาหล่ะเมื่อจินตนาการได้แล้วเรามาเริ่มต้นกันเลยดีกว่าครับ
เริ่มจากเอากล่องเหลี่ยมมาตั้งไว้ข้างหน้าเรา ดู fig.001 ผมกำหนดให้กล่องนี้กว้างประมาณ 2 เมตร ลึก1เมตรแล้วก็สูงประมาณ1เมตรแล้วกันเราจะได้มองเห็นฝากล่องได้(เพราะเรา ต้องสูงกว่า 1เมตรแน่นอน)
เริ่มจากเอากล่องเหลี่ยมมาตั้งไว้ข้างหน้าเรา ดู fig.001 ผมกำหนดให้กล่องนี้กว้างประมาณ 2 เมตร ลึก1เมตรแล้วก็สูงประมาณ1เมตรแล้วกันเราจะได้มองเห็นฝากล่องได้(เพราะเรา ต้องสูงกว่า 1เมตรแน่นอน)
fig.001
ทีนี้เราก็ยืนให้ตรงกลางกล่องแล้ว ถอยหลังมายืนให้ห่างกล่องพอประมาณ ที่เราจะได้ก็คือ ตัวกล่อง(Object) และตัวเรา (Spectator)ผมจะเรียกว่าเป็นจุดมองของเราแล้วกัน (Station point) ดู fig.002
fig.002
แต่ที่เราต้องการเพิ่มเติมคือจินตนาการเล็กน้อย ลองสร้างภาพว่ามีกระจกใสแผ่นใหญ่มากๆแนบอยู่ด้านหลังกล่องใบนี้ดูนะครับ ดู Fig.003
fig.003
ผมจะเรียกว่ากระจกรับภาพแล้วกัน (Picture plane) ทีนี้เราจะเขียนสิ่งที่เราเห็นอยู่ตรงหน้า อย่างไงล่ะครับ สิ่งแรกเราต้องนำทุกอย่างที่เราพูดถึงเมื่อสักครู่มาเขียนเป็นแบบแปลนก่อน (คงไม่ต้องบอกแล้วนะครับว่าเขียนแปลนอย่างไร) ในแปลนเราจะต้องเห็น 3 สิ่งนี้นะครับ
1.วัตถ ุ(Object)
2.จุดมองวัตถุ (Station point)
3.กระจกรับภาพ (Picture plane) ส่วน image line ไม่จำเป็นต้องเขียนก็ได้นะครับถ้าเข้าใจแล้ว ดู fig.004 (มี2ภาพนะครับ)
1.วัตถ ุ(Object)
2.จุดมองวัตถุ (Station point)
3.กระจกรับภาพ (Picture plane) ส่วน image line ไม่จำเป็นต้องเขียนก็ได้นะครับถ้าเข้าใจแล้ว ดู fig.004 (มี2ภาพนะครับ)
fig.004
fig.004
เอาหล่ะเราได้แปลนเป็นที่เรียบร้อยแล้วมาเตรียมทำรูปด้านกันเถอะครับ (ใครที่ไม่รู้ว่าเขียนรูปด้านจากแปลนอย่างไร หาอ่านเรื่องภาพฉาย (Orthographic Projection) ดูนะครับ ในรูปด้านให้เราเขียนแต่กระจกบานใหญ่ไว้ก่อนเลย (ต้องมีเส้นพื้นแสดงให้เห็นด้วยนะครับ) ที่ต้องการเพิ่มเติมคือเส้นระดับสายตา (Horizon line) แน่นอนว่าเส้นระดับสายตาคุณน่าจะสูงกว่ากล่องแน่นอน ยกเว้นถ้าคุณสูงแค่ 90เซ็นติเมตร) เพื่อความสะดวกผมจะกำหนดความสูงของเส้นระดับสายตาไว้ที่ 1.50 เมตรแล้วกันครับ ดู fig.005
fig.005
ทีนี้เราก็ต้องหาจุดรวมสายตา (Vanishing point)แน่นอนต้องอยู่ในเส้นระดับสายตาและต้องอยู่ตรงตำแหน่งที่เรายืนในแปลน ถ้างั้นก็ลากเสันจากตำแหน่งยืนในแปลนมาตัดกับเส้นระดับสายตาในรูปด้านเลย ครับ ทีนี้เราก็ได้จุดรวมสายตาแล้ว จากนั้นเราก็เอารูปด้านกล่องมากำกับไว้ด้านข้างซ้ายมือ กันพลาดเรื่องระดับความสูงของวัตถุ ดู fig.006
fig.006
ทีนี้ก็เขียนรูปด้านของกล่องในส่วน ที่แนบกระจกก่อนโดยลากเส้นระดับความสูงจากรูปด้านมาตัดกับเส้นกำหนดความ กว้างของกล่อง หลังจากได้ภาพของกล่องในส่วนที่แนบกระจกแล้ว ทีนี้ลองจินตนาการว่ากล่องนี้ยาวจากสุดสายตามาจนถึงตัวเราโดยการลากเส้นจาก จุดรวมสายตาผ่านมุมทั้ง4มุมของกล่อง เราก็จะได้เส้นกำหนดแนวของกล่องแล้วหล่ะครับ ดู fig.007
fig.007
แต่ว่ากล่องเราไม่ได้ยาวเท่านั้น นี่ แล้วจะเราจะเขียนระยะที่แท้จริงอย่างไรมาดูกัน เราต้องย้อนกลับมาดูที่แปลนกันก่อนนะครับเราจะเห็นว่าเราได้ร่างเส้นสมมุติ ผ่านด้านข้างของกล่องไว้แล้ว ซึ่งก็คือเส้นเดียวกับที่ลากผ่านมุมด้านล่างทั้งสองด้านของกล่องในรูปด้าน ย้อนกลับมาที่แปลนจากจุดยืนของเรา (Station point) ลากเส้นแทนการมองผ่านมุมของกล่องในแปลน ไปสัมผัสกับเส้นกระจกรับภาพ (picture plane) ในแปลน ทีนี้ก็ฉายภาพ (Projection) ขึ้นไปตัดกับเส้นสมมุติที่เป็นแนวกล่อง เราก็จะได้ระยะกล่องที่ถูกต้องตรงกับแปลน ทำอย่างนี้กับอีกมุมหนึ่งของกล่องเราจะได้แนวของพื้นกล่อง ดูรูปประกอบนะครับ fig.008
fig.008
ทีนี้ก็ทำแบบเดียวกัน กับส่วนที่เป็นฝากล่อง(มุมบนซ้ายขวาในรูปด้าน) ดูภาพนะครับ จะสังเกตุว่าในแปลนจะเป็นจุดเดียวกับมุมล่างของกล่อง งั้นก็ลากเส้นต่อขึ้นไปเลยครับ fig.009
fig.009
ทีนี้ก็จัดการกับด้านหน้ากล่องได้แล้วนะครับ ดู fig.010
fig.010
เอาหล่ะครับเป็นอันจบ ทีนี้ลองเขียนกล่องที่มีรูปแบบต่างออกไปโดยให้ระยะห่างของเรากับกระจกรับภาพ เท่าเดิม แต่ให้เลื่อนวัตถุถอนไปอยู่กลางกระจก และหลังกระจกดูนะครับ เราจะเห็นวัตถุมีขนาดเล็กลง ทดลองดูครับ แต่ถ้ายังไม่เข้าใจ ลองอ่านทบทวนดูอีกครั้งนะครับ
แต่ยังครับ ยังไม่หมดมีอีกหลายวิธีในการเขียน one point perspective ซึ่งบางวิธีนั้นง่ายมากเลยครับคงต้องติดตามอ่านเรื่อยๆนะครับ
การเขียนทัศนียภาพแบบ two point perspective แตกต่างจากการเขียน one point perspective (fig.001) ตรงที่วัตถุ มีการวางทำมุม มากกว่าหรือน้อยกว่า 90 องศา กับแนวกระจก หรือ picture plane (fig.002)
fig.001
fig.002
ทำให้แนวเส้นของวัตถุเมื่อลากยาวไป รวมกันที่จุดรวมสายตาในเส้นระดับสายตา จะมีจุดรวมสายตาเกิดขึ้นสองจุด (ซึ่งเป็นที่มาของการเขียนทัศนียภาพแบบ two point perspective) ( fig.003)
fig.003
เอาหล่ะทีนี้เมื่อเรารู้ที่มาและ แนวทางแล้วมาดูว่าเราต้องเตรียมอะไรบ้างเพื่อจะได้เขียนทัศนียภาพแบบ Two Point Perspective อย่างแรก เราต้องจัดวางตำแหน่งชิ้นงาน(O bject) ลงบน แนวเส้นกระจก(Picture Plane)สำหรับงานตกแต่งภายใน การวางชิ้นงาน(Object)ไว้หน้าเส้นกระจก(Picture Plane)จะทำให้ได้ภาพที่มีขนาดเหมาะสม (fig.004)
fig.004
หลังจากวางชิ้นงานแล้ว เราก็ต้องมากำหนดจุดยืนของเรา ( Station point) โดยเรามีวิธีหาระยะยืนที่เหมาะสมได้โดย 1. วัดระยะส่วนที่กว้างที่สุดในแนวระนาบของวัตถุที่วางไว้ กำหนดให้เป็นระยะ x
fig.005
2. หลังจากนั้นระยะยืนที่เหมาะสมจะเท่ากับระยะ 2x จากแนวเส้นกระจก ทีนี้เราก็จะได้ระยะยืนที่เหมาะสมแล้วครับ (fig.005) แต่ระยะยืนนี้เราสามารถจะยืนใกล้หรือไกลกว่านี้ได้นะครับ แต่ภาพที่ออกมาก็จะเปลี่ยนไปตามระยะที่เรายืนครับ เอาหล่ะเมื่อพร้อมแล้ว เราต้องหา จุดรวมสายตา (Vanishing point) และที่สำคัญคือ คราวนี้มันมีถึง 2 จุด มาดูกันว่าหาอย่างไร เริ่มต้นจากจุดยืนของเรา ลากเส้นให้ขนานกับด้านของวัตถุทั้งสองด้าน ย้ำว่าต้องขนานกับด้านของวัตถุนะครับแล้วลากเส้นให้ไปตัดกับเส้นกระจก (Picture plane) ที่เราจะได้ก็คือ จุดรวมสายตาจุดที่ 1 และจุดที่ 2 ในแปลน (fig.006) ถูกไหมครับ
fig.006
ทีนี้ก็เรียบร้อยสำหรับแปลนที่พร้อมจะไว้การเขียนทัศนียภาพได้แล้วครับ ทีนี้ก็ถึงขั้นตอนการเขียนทัศนียภาพแล้ว
มาเริ่มต้นกันเลยครับ หลังจากจัดการกับแปลนเป็นที่เรียบร้อยก็เริ่มเขียนรูปด้านโดย ลากเส้นระดับพื้น (Ground line) (ซึ่งก็คือเส้นกระจกรับภาพ(picture plane) ในแปลนนั่นเองครับ) จากนั้นเราก็จัดการนำรูปด้านมาวางไว้เตรียมไว้สำหรับหาระดับความสูงของกล่อง แล้วก็ลากเส้นระดับสายตา(ในแบบผมกำหนดให้สูงกว่ากล่อง)ดู fig.007
มาเริ่มต้นกันเลยครับ หลังจากจัดการกับแปลนเป็นที่เรียบร้อยก็เริ่มเขียนรูปด้านโดย ลากเส้นระดับพื้น (Ground line) (ซึ่งก็คือเส้นกระจกรับภาพ(picture plane) ในแปลนนั่นเองครับ) จากนั้นเราก็จัดการนำรูปด้านมาวางไว้เตรียมไว้สำหรับหาระดับความสูงของกล่อง แล้วก็ลากเส้นระดับสายตา(ในแบบผมกำหนดให้สูงกว่ากล่อง)ดู fig.007
fig.007
จากนั้นเรามาหาจุดรวมสายตาทั้ง สองจุดคือ vp1 และ vp2 โดยการลากเส้นจากจุด ในแปลน มาตัดกับเส้นระดับสายตา เท่านี้ก็จะได้จุดรวมสายตาทั้งสองจุดแล้วครับ ทีนี้ก็มาหาจุดที่วัตถุสัมผัสกับกระจกกันครับ จากจุดสัมผัสในแปลนลากเส้นมาตัดกับเส้นพื้นในรูปด้านเลย ส่วนความสูงก็ให้ ลากเสันระดับจากรูปด้านได้เลย ทีนี้เราก็ได้เส้นของวัตถุที่สัมผัสกับกระจกเรียบร้อยแล้ว ดู fig.008
fig.008
ครับต่อจากนั้นเรามาดูที่แปลนกัน อีกครั้งนะครับเราเห็นเส้นสมมุติที่ลากผ่านวัตถุใช่ไหมครับอย่างที่บอกใน ความเป็นจริงเราจะเห็นเส้นนี้วิ่งลับสายตาไปเลย ดังนั้นในรูปด้านให้เราลากเส้นผ่านจุดสัมผัสที่จุดปลายของเส้นวัตถุที่ สัมผัสกระจกอยู่ เราจะได้เส้นสมมุติด้านข้างของวัตถุ2ด้าน แต่ที่เราต้องการคือความยาวของด้านวัตถุที่แท้จริงในเส้นสมมุติ ให้เราย้อนกลับมาที่แปลนจะเห็นว่าความยาวของวัตถุแต่ละด้านจะอยู่ตรงจุด หนึ่งบนเส้นสมมุติ จะหาจุดนี้ให้เราเริ่มต้นจากจุดยืน(Station point)แล้วลากเส้นผ่านจุดปลายของเส้นวัตถุทั้งสองด้านไปสัมผัสกับเส้นกระจก รับภาพ แล้วฉายภาพขึ้นไปตัดกับเส้นสมมุติของวัตถุในรูปด้านเราจะได้ความยาวของด้าน ของวัตถุ จากนั้นลากเส้นจากจุดรวมสายตาทั้งสองด้านมาตัดที่จุดตัดนี้เราก็จะได้อีกสอง ด้านของกล่องที่สมบูรณืครับ
fig.009
เมื่อได้พื้นกล่องแล้วทีนี้เราก็ มาหาผนังกล่อง จากจุดรวมสายตาลากผ่านปลายบนสุดของเส้นวัตถุที่แนบกับกระจกรับภาพ(ซึ่งเป็น ระดับความสูงที่ได้จากรูปด้านวัตถุ) จากนั้นลากเส้นตั่งฉากจากมุมของกล่องทั้งสองด้านจะได้มุมกล่องที่สองและที่ สาม ดู fig.010
fig.010
หลังจากได้จุดตัดทั้งสองให้ลากเส้นจากจุดรวมสายตาทั้งสองด้านตัดผ่านจุดทั้งสอง จะได้จุดตัดที่เป็นมุมที่สี่ของฝากล่อง ดู fig.011
fig.011
หลังจากนั้นก็ลากเส้นตั้งฉากจากมุมล่างไปมุมบนของกล่อง เราก็จะได้ภาพกล่องที่เสร็จสมบูรณืแล้วครับ ดู fig.012
fig.012
ที่เหลือก็ตกแต่งให้สวยงามเรียนร้อย เป็นอันจบขบวนการ
fig.013
ตัวอย่างงานเขียนแบบ two point perspective
แต่ยังไม่ได้หมดเท่านี้นะครับ ยังมีเทคนิคอีกหลายรูปแบบ ในการเขียน two point perspective ลองติดตามอ่านเรื่อยๆนะครับ
One point and Two-point perspective constructions combined ครางนี้เรามาลองดูการเขียนร่วมกันระหว่าง one point perspective และ two point perspective เพราะในงานออกแบบตกแต่งภายใน การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ในมุมที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดมุมของวัตถุที่แตกต่างในการเขียนทัศนียภาพ (Perspective) ซึ่งถ้าเข้าใจหลักการแล้วคงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้วครับ เรามาเริ่มต้นที่แปลนกันก่อนเลยแล้วกันครับ ถ้าสังเกตุให้ดีจะเห็นว่าวัตถุทั้งสองชิ้น วางต่างมุมกัน โดยชิ้นแรกวางขนานไปกับแนวกระจกรับภาพ ส่วนชิ้นที่สองวางทำมุมกับกระจกรับภาพ นั่นหมายถึง การเขียนทัศนียภาพคราวนี้ ต้องมีทั้ง one point และ two point perspective อย่างแน่นอน แต่จะอย่างไรหล่ะครับ
และนี่ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่เราจะทดลองเขียนกันครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น