One Point Perspective


การเขียนทัศนียภาพ (Perspective)เป็นการสื่อสารด้วยภาพที่ดีที่สุดในการที่จะทำให้เข้าใจถึงรูป แบบในการตกแต่งภายในได้ แต่การเขียนทัศนียภาพ ก็มีหลายวิธี แต่ที่นิยมใช้สำหรับงานออกแบบตกแต่งภายในจะแบ่งเป็น 1.การเขียนทัศนียภาพแบบจุดเดียว (ONE POINT PERSPECTIVE) 2.การเขียนทัศนียภาพแบบสองจุด (TWO POINT PERSPECTIVE) ส่วนการเขียนทัศนียภาพแบบสามจุด มักนิยมใช้กับการเขียนอาคารภายนอกที่มีขนาดใหญ่ จึงอาจจะอธิบายถึงบ้างพอเข้าใจ เรามาเริ่มต้นกันที่การเขียนแบบจุดเดียวก่อนแล้วกันครับ เริ่มต้นที่วัตุถุรูปทรงง่ายๆอย่างกล่องเหลี่ยมๆแล้วกันครับ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าการมองเห็นในธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นรางรถไฟหรือถนน ซึ่งที่จริงแล้วก็เป็นเส้นตรงที่ขนานไปจนสุดสายตา (a) แต่ที่เราเห็นกลับไม่เป็นเช่นนั้นครับ เราจะเห็นถนนหรือรางรถไฟค่อยๆเล็กลงไปเรื่อยๆจนกระทั่งไปชนกันที่ขอบฟ้า (b)เราอย่าไปสนใจเลยครับว่าทำไมจึงเห็นเป็นแบบนั้น แต่ที่เรากำลังจะทำก็คือ เราจะเขียนสิ่งที่เราเห็นอย่างไร
ทีนี้เรากลับมาที่กล่องเหลี่ยมๆตันๆของเราต่อ ถ้าเราจินตนาการว่ากล่องที่อยู่ตรงหน้าเรานี้มันยาวไปจนสุดสายตา เราก็จะเห็นว่ากล่องของเราจะเรียวแหลมและค่อยๆเล็กลงจนหายไปเช่นกัน
เอาหล่ะเมื่อจินตนาการได้แล้วเรามาเริ่มต้นกันเลยดีกว่าครับ

เริ่มจากเอากล่องเหลี่ยมมาตั้งไว้ข้างหน้าเรา ดู fig.001 ผมกำหนดให้กล่องนี้กว้างประมาณ 2 เมตร ลึก1เมตรแล้วก็สูงประมาณ1เมตรแล้วกันเราจะได้มองเห็นฝากล่องได้(เพราะเรา ต้องสูงกว่า 1เมตรแน่นอน)
fig.001
ทีนี้เราก็ยืนให้ตรงกลางกล่องแล้ว ถอยหลังมายืนให้ห่างกล่องพอประมาณ ที่เราจะได้ก็คือ ตัวกล่อง(Object) และตัวเรา (Spectator)ผมจะเรียกว่าเป็นจุดมองของเราแล้วกัน (Station point) ดู fig.002
fig.002
แต่ที่เราต้องการเพิ่มเติมคือจินตนาการเล็กน้อย ลองสร้างภาพว่ามีกระจกใสแผ่นใหญ่มากๆแนบอยู่ด้านหลังกล่องใบนี้ดูนะครับ ดู Fig.003
fig.003
ผมจะเรียกว่ากระจกรับภาพแล้วกัน (Picture plane) ทีนี้เราจะเขียนสิ่งที่เราเห็นอยู่ตรงหน้า อย่างไงล่ะครับ สิ่งแรกเราต้องนำทุกอย่างที่เราพูดถึงเมื่อสักครู่มาเขียนเป็นแบบแปลนก่อน (คงไม่ต้องบอกแล้วนะครับว่าเขียนแปลนอย่างไร) ในแปลนเราจะต้องเห็น 3 สิ่งนี้นะครับ
1.วัตถ ุ(Object)
2.จุดมองวัตถุ (Station point)
3.กระจกรับภาพ (Picture plane) ส่วน image line ไม่จำเป็นต้องเขียนก็ได้นะครับถ้าเข้าใจแล้ว ดู fig.004 (มี2ภาพนะครับ)
fig.004
fig.004
เอาหล่ะเราได้แปลนเป็นที่เรียบร้อยแล้วมาเตรียมทำรูปด้านกันเถอะครับ (ใครที่ไม่รู้ว่าเขียนรูปด้านจากแปลนอย่างไร หาอ่านเรื่องภาพฉาย (Orthographic Projection) ดูนะครับ ในรูปด้านให้เราเขียนแต่กระจกบานใหญ่ไว้ก่อนเลย (ต้องมีเส้นพื้นแสดงให้เห็นด้วยนะครับ) ที่ต้องการเพิ่มเติมคือเส้นระดับสายตา (Horizon line) แน่นอนว่าเส้นระดับสายตาคุณน่าจะสูงกว่ากล่องแน่นอน ยกเว้นถ้าคุณสูงแค่ 90เซ็นติเมตร) เพื่อความสะดวกผมจะกำหนดความสูงของเส้นระดับสายตาไว้ที่ 1.50 เมตรแล้วกันครับ ดู fig.005
fig.005
ทีนี้เราก็ต้องหาจุดรวมสายตา (Vanishing point)แน่นอนต้องอยู่ในเส้นระดับสายตาและต้องอยู่ตรงตำแหน่งที่เรายืนในแปลน ถ้างั้นก็ลากเสันจากตำแหน่งยืนในแปลนมาตัดกับเส้นระดับสายตาในรูปด้านเลย ครับ ทีนี้เราก็ได้จุดรวมสายตาแล้ว จากนั้นเราก็เอารูปด้านกล่องมากำกับไว้ด้านข้างซ้ายมือ กันพลาดเรื่องระดับความสูงของวัตถุ ดู fig.006
fig.006
ทีนี้ก็เขียนรูปด้านของกล่องในส่วน ที่แนบกระจกก่อนโดยลากเส้นระดับความสูงจากรูปด้านมาตัดกับเส้นกำหนดความ กว้างของกล่อง หลังจากได้ภาพของกล่องในส่วนที่แนบกระจกแล้ว ทีนี้ลองจินตนาการว่ากล่องนี้ยาวจากสุดสายตามาจนถึงตัวเราโดยการลากเส้นจาก จุดรวมสายตาผ่านมุมทั้ง4มุมของกล่อง เราก็จะได้เส้นกำหนดแนวของกล่องแล้วหล่ะครับ ดู fig.007
fig.007
แต่ว่ากล่องเราไม่ได้ยาวเท่านั้น นี่ แล้วจะเราจะเขียนระยะที่แท้จริงอย่างไรมาดูกัน เราต้องย้อนกลับมาดูที่แปลนกันก่อนนะครับเราจะเห็นว่าเราได้ร่างเส้นสมมุติ ผ่านด้านข้างของกล่องไว้แล้ว ซึ่งก็คือเส้นเดียวกับที่ลากผ่านมุมด้านล่างทั้งสองด้านของกล่องในรูปด้าน ย้อนกลับมาที่แปลนจากจุดยืนของเรา (Station point) ลากเส้นแทนการมองผ่านมุมของกล่องในแปลน ไปสัมผัสกับเส้นกระจกรับภาพ (picture plane) ในแปลน ทีนี้ก็ฉายภาพ (Projection) ขึ้นไปตัดกับเส้นสมมุติที่เป็นแนวกล่อง เราก็จะได้ระยะกล่องที่ถูกต้องตรงกับแปลน ทำอย่างนี้กับอีกมุมหนึ่งของกล่องเราจะได้แนวของพื้นกล่อง ดูรูปประกอบนะครับ fig.008
fig.008
ทีนี้ก็ทำแบบเดียวกัน กับส่วนที่เป็นฝากล่อง(มุมบนซ้ายขวาในรูปด้าน) ดูภาพนะครับ จะสังเกตุว่าในแปลนจะเป็นจุดเดียวกับมุมล่างของกล่อง งั้นก็ลากเส้นต่อขึ้นไปเลยครับ fig.009
fig.009
ทีนี้ก็จัดการกับด้านหน้ากล่องได้แล้วนะครับ ดู fig.010
fig.010
เอาหล่ะครับเป็นอันจบ ทีนี้ลองเขียนกล่องที่มีรูปแบบต่างออกไปโดยให้ระยะห่างของเรากับกระจกรับภาพ เท่าเดิม แต่ให้เลื่อนวัตถุถอนไปอยู่กลางกระจก และหลังกระจกดูนะครับ เราจะเห็นวัตถุมีขนาดเล็กลง ทดลองดูครับ แต่ถ้ายังไม่เข้าใจ ลองอ่านทบทวนดูอีกครั้งนะครับ
แต่ยังครับ ยังไม่หมดมีอีกหลายวิธีในการเขียน one point perspective ซึ่งบางวิธีนั้นง่ายมากเลยครับคงต้องติดตามอ่านเรื่อยๆนะครับ

การเขียนทัศนียภาพแบบ two point perspective แตกต่างจากการเขียน one point perspective (fig.001) ตรงที่วัตถุ มีการวางทำมุม มากกว่าหรือน้อยกว่า 90 องศา กับแนวกระจก หรือ picture plane (fig.002)
fig.001
fig.002
ทำให้แนวเส้นของวัตถุเมื่อลากยาวไป รวมกันที่จุดรวมสายตาในเส้นระดับสายตา จะมีจุดรวมสายตาเกิดขึ้นสองจุด (ซึ่งเป็นที่มาของการเขียนทัศนียภาพแบบ two point perspective) ( fig.003)
fig.003
เอาหล่ะทีนี้เมื่อเรารู้ที่มาและ แนวทางแล้วมาดูว่าเราต้องเตรียมอะไรบ้างเพื่อจะได้เขียนทัศนียภาพแบบ Two Point Perspective อย่างแรก เราต้องจัดวางตำแหน่งชิ้นงาน(O bject) ลงบน แนวเส้นกระจก(Picture Plane)สำหรับงานตกแต่งภายใน การวางชิ้นงาน(Object)ไว้หน้าเส้นกระจก(Picture Plane)จะทำให้ได้ภาพที่มีขนาดเหมาะสม (fig.004)
fig.004
หลังจากวางชิ้นงานแล้ว เราก็ต้องมากำหนดจุดยืนของเรา ( Station point) โดยเรามีวิธีหาระยะยืนที่เหมาะสมได้โดย 1. วัดระยะส่วนที่กว้างที่สุดในแนวระนาบของวัตถุที่วางไว้ กำหนดให้เป็นระยะ x
fig.005
2. หลังจากนั้นระยะยืนที่เหมาะสมจะเท่ากับระยะ 2x จากแนวเส้นกระจก ทีนี้เราก็จะได้ระยะยืนที่เหมาะสมแล้วครับ (fig.005) แต่ระยะยืนนี้เราสามารถจะยืนใกล้หรือไกลกว่านี้ได้นะครับ แต่ภาพที่ออกมาก็จะเปลี่ยนไปตามระยะที่เรายืนครับ เอาหล่ะเมื่อพร้อมแล้ว เราต้องหา จุดรวมสายตา (Vanishing point) และที่สำคัญคือ คราวนี้มันมีถึง 2 จุด มาดูกันว่าหาอย่างไร เริ่มต้นจากจุดยืนของเรา ลากเส้นให้ขนานกับด้านของวัตถุทั้งสองด้าน ย้ำว่าต้องขนานกับด้านของวัตถุนะครับแล้วลากเส้นให้ไปตัดกับเส้นกระจก (Picture plane) ที่เราจะได้ก็คือ จุดรวมสายตาจุดที่ 1 และจุดที่ 2 ในแปลน (fig.006) ถูกไหมครับ
fig.006
ทีนี้ก็เรียบร้อยสำหรับแปลนที่พร้อมจะไว้การเขียนทัศนียภาพได้แล้วครับ ทีนี้ก็ถึงขั้นตอนการเขียนทัศนียภาพแล้ว

มาเริ่มต้นกันเลยครับ หลังจากจัดการกับแปลนเป็นที่เรียบร้อยก็เริ่มเขียนรูปด้านโดย ลากเส้นระดับพื้น (Ground line) (ซึ่งก็คือเส้นกระจกรับภาพ(picture plane) ในแปลนนั่นเองครับ) จากนั้นเราก็จัดการนำรูปด้านมาวางไว้เตรียมไว้สำหรับหาระดับความสูงของกล่อง แล้วก็ลากเส้นระดับสายตา(ในแบบผมกำหนดให้สูงกว่ากล่อง)ดู fig.007
fig.007
จากนั้นเรามาหาจุดรวมสายตาทั้ง สองจุดคือ vp1 และ vp2 โดยการลากเส้นจากจุด ในแปลน มาตัดกับเส้นระดับสายตา เท่านี้ก็จะได้จุดรวมสายตาทั้งสองจุดแล้วครับ ทีนี้ก็มาหาจุดที่วัตถุสัมผัสกับกระจกกันครับ จากจุดสัมผัสในแปลนลากเส้นมาตัดกับเส้นพื้นในรูปด้านเลย ส่วนความสูงก็ให้ ลากเสันระดับจากรูปด้านได้เลย ทีนี้เราก็ได้เส้นของวัตถุที่สัมผัสกับกระจกเรียบร้อยแล้ว ดู fig.008
fig.008
ครับต่อจากนั้นเรามาดูที่แปลนกัน อีกครั้งนะครับเราเห็นเส้นสมมุติที่ลากผ่านวัตถุใช่ไหมครับอย่างที่บอกใน ความเป็นจริงเราจะเห็นเส้นนี้วิ่งลับสายตาไปเลย ดังนั้นในรูปด้านให้เราลากเส้นผ่านจุดสัมผัสที่จุดปลายของเส้นวัตถุที่ สัมผัสกระจกอยู่ เราจะได้เส้นสมมุติด้านข้างของวัตถุ2ด้าน แต่ที่เราต้องการคือความยาวของด้านวัตถุที่แท้จริงในเส้นสมมุติ ให้เราย้อนกลับมาที่แปลนจะเห็นว่าความยาวของวัตถุแต่ละด้านจะอยู่ตรงจุด หนึ่งบนเส้นสมมุติ จะหาจุดนี้ให้เราเริ่มต้นจากจุดยืน(Station point)แล้วลากเส้นผ่านจุดปลายของเส้นวัตถุทั้งสองด้านไปสัมผัสกับเส้นกระจก รับภาพ แล้วฉายภาพขึ้นไปตัดกับเส้นสมมุติของวัตถุในรูปด้านเราจะได้ความยาวของด้าน ของวัตถุ จากนั้นลากเส้นจากจุดรวมสายตาทั้งสองด้านมาตัดที่จุดตัดนี้เราก็จะได้อีกสอง ด้านของกล่องที่สมบูรณืครับ
fig.009
เมื่อได้พื้นกล่องแล้วทีนี้เราก็ มาหาผนังกล่อง จากจุดรวมสายตาลากผ่านปลายบนสุดของเส้นวัตถุที่แนบกับกระจกรับภาพ(ซึ่งเป็น ระดับความสูงที่ได้จากรูปด้านวัตถุ) จากนั้นลากเส้นตั่งฉากจากมุมของกล่องทั้งสองด้านจะได้มุมกล่องที่สองและที่ สาม ดู fig.010
fig.010
หลังจากได้จุดตัดทั้งสองให้ลากเส้นจากจุดรวมสายตาทั้งสองด้านตัดผ่านจุดทั้งสอง จะได้จุดตัดที่เป็นมุมที่สี่ของฝากล่อง ดู fig.011
fig.011
หลังจากนั้นก็ลากเส้นตั้งฉากจากมุมล่างไปมุมบนของกล่อง เราก็จะได้ภาพกล่องที่เสร็จสมบูรณืแล้วครับ ดู fig.012
fig.012
ที่เหลือก็ตกแต่งให้สวยงามเรียนร้อย เป็นอันจบขบวนการ
fig.013
ตัวอย่างงานเขียนแบบ two point perspective
แต่ยังไม่ได้หมดเท่านี้นะครับ ยังมีเทคนิคอีกหลายรูปแบบ ในการเขียน two point perspective ลองติดตามอ่านเรื่อยๆนะครับ

One point and Two-point perspective constructions combined ครางนี้เรามาลองดูการเขียนร่วมกันระหว่าง one point perspective และ two point perspective เพราะในงานออกแบบตกแต่งภายใน การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ในมุมที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดมุมของวัตถุที่แตกต่างในการเขียนทัศนียภาพ (Perspective) ซึ่งถ้าเข้าใจหลักการแล้วคงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้วครับ เรามาเริ่มต้นที่แปลนกันก่อนเลยแล้วกันครับ ถ้าสังเกตุให้ดีจะเห็นว่าวัตถุทั้งสองชิ้น วางต่างมุมกัน โดยชิ้นแรกวางขนานไปกับแนวกระจกรับภาพ ส่วนชิ้นที่สองวางทำมุมกับกระจกรับภาพ นั่นหมายถึง การเขียนทัศนียภาพคราวนี้ ต้องมีทั้ง one point และ two point perspective อย่างแน่นอน แต่จะอย่างไรหล่ะครับ
และนี่ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่เราจะทดลองเขียนกันครับ


Orthographic Projection



                       เรื่องภาพฉาย (orthographic projection)  สงสัยไหมครับว่าว่ามันคืออะไร แล้วมันจะฉายอะไรกันไปทำไม ครับมันมีที่มา แล้วก็ประโยชน์อย่างมากเลยครับ ถือได้ว่าเป็นพื้นฐานในการเขียนแบบเลยก็ว่าได้ เพราะนอกจากจะทำให้เราศึกษารูปแบบของชิ้นงานได้ในทุกๆด้านก่อนทำชิ้นงานจริง แล้ว ยังสามารถอธิบายแบบให้ช่างเข้าใจได้ง่ายด้วยครับ เพราะเป็นรูปแบบที่เข้าใจในระดับสากลเลยครับ

เอาหล่ะครับ มาดูกันว่าเราจะเขียนภาพฉายของวัตถุได้อย่างไรกันครับ เริ่มจากกล่องที่ผมกำหนดให้แต่ละด้านมีสีที่แตกต่างกันก่อนนะครับ จะได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ดูจากรูปจะมีด้าน A อยู่ด้านบน ผมเรียกว่า top view ด้าน B อยู่ด้านหน้า ก็เป็น front view และด้าน C ก็ให้เป็น side view แล้วกัน ส่วนอีกสามด้านที่เหลือ( ด้านใต้ ด้านหลังและ ด้านข้างอีกด้าน) เรายังไม่กล่าวถึงแล้วกันนะครับการเขียนภาพฉายแบบที่เราจะกล่างถึงนี้เรา เรียกว่าภาพฉายแบบมุมที่1 ( First angle Projection)
ทีนี้ก็จินตนาการต่อว่า ถ้าเราไปยืนมองแต่ละด้าน สิ่งที่เราเห็นจะเป็นอย่างไรมาดูกัน
แล้วถ้าเราฉายภาพสิ่งที่เราเห็นลงบนกระดาษหล่ะครับ
เป็นไงบ้างครับนึกภาพเดียวกันหรือเปล่าครับ ถ้าสังเกตุให้ดีจะเห็นว่า แนวของวัตถุจะตรงกันพอดี (ผมร่างเส้นเป็นแนวไว้ให้ดูครับ) หลังจากนั้น เรามาลองคลี่กระดาษออกให้เป็นระนาบเดียวกันดูนะครับ (ดูภาพด้านล่างประกอบนะครับ) เราจะเห็นด้านต่างๆของวัตถุวางตัวเรียงเป็นระเบียบ โดยจะแสดงให้เห็นด้านบน ด้านหน้าและด้านข้างของวัตถุ ว่ามีรูปแบบอย่างไรบ้าง นี่แหละครับสำหรับการเริ่มต้นเขียนแบบที่เราเรียกว่าการเขียนภาพฉาย (Orthographic Projection)
ทีนี้เรามาดูกันต่อครับ จากวัตถุที่เรามองในแต่ละด้าน จนมาแสดงเป็นภาพฉาย (orthographic projectionX) เราจะเห็นวัตถุจากภายนอกในแต่ละด้านเท่านั้น ส่วนภายในจะมีรูปแบบอย่างไร เราไม่สามารถจะมองเห็นได้ แต่ในงานเขียนแบบบางครั้งเราจำเป็นต้องแสดงแบบให้เห้นถึงภายในของชิ้นงาน นั้นๆ การเขียนแบบในอีกลักษณะหนึ่งที่เรียdว่าการเขียนถาพตัด (section) จึงถูกนำมาใช้ในงานเขียนแบบอยู่เสมอ ก่อนที่เราจะเข้าถึงขั้นตอนวิธีการเขียนแบบทั้งการเขียนภาพฉายและภาพตัด เรามาทำความเข้าใจในเรื่อง ภาพตัด (section) กันก่อน
ลองนึก ภาพของวัตถุทรงกล่องเหลี่ยมสักชิ้นหนึ่ง ในที่นี้ผมจะให้ด้านบนกล่องมีสีขาว ด้านหน้ากล่องมีสีเหลือง และด้านข้างกล่องเป็นสีแดง
ทีนี้ลองสมมุติแผ่นกระจกใสซักแผ่นที่มีคุณสมบัตทำให้วัตถุที่มันเลื่อนผ่าน โปร่งใสขึ้นมา มาวางด้านหน้าของกล่องที่มีสีเหลือง แล้วค่อยๆ เลื่อนชิ้นกระจกนี้ให้ไปอยู่กึ่งกลางของกล่อง ส่วนของกล่องที่กระจกนี้เลื่อนผ่านก็จะโปรงใสขึ้นมาจนเห็นภายในของกล่องชิ้นนี้ ส่วนที่ยังเป็นวัตถุที่แนบอยู่กับชิ้นกระจก(ที่เห็นเป็นแถบสีแดง)ก็จะเป็นรูปตัดด้านหน้า (section) ของกล่องใบนีุ้
ลองทำดูกับส่วนอื่นๆของกล่องใบนี้ เช่น ด้านบนของกล่อง
ด้านข้างของกล่อง
เราก็จะได้รูปตัดในแต่ละด้านของกล่องใบนี้ ทีนี้เมื่อเราทำความรู้จักกับ ภาพฉาย (Orthographic Projection) และ ภาพตัดของวัตถุ ( Section) เรามาเริ่มต้นเขียนแบบภาพฉฉายและภาพตัดกันครับ

เริ่มต้นเป็นนักออกแบบตกแต่งภายใน "มัณฑนากร”


               คำ ถามนี้หลายๆคนคงคิดเหมือนๆกัน จริงๆแล้วการที่เราจะตกแต่งบ้านเพื่ออยู่อาศัย หลายคนคงบอกว่า ทำเองตกแต่งเองก็ได้ก็ถูกต้องครับ แต่ว่าไม่ทั้งหมด เพราะว่าการออกแบบตกแต่งภายในนั้นถือเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยความ รู้ ความเข้าใจทางด้านศิลปะพอสมควรแล้วถ้าลงลึกเข้าไปจะเห็นว่าเราจำเป็นต้องมี ความรู้ ทางด้านสรีวิทยาเพื่อออกแบบให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ เฟอร์นิเจอร์ การวางพื้นที่ใช้สอยในส่วนต่างๆให้มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ต้องมีความรู้ทางด้านประวัติศาสคร์ศิลป์ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบหรือจัดหาเฟอร์นิเจอร์ และ ของตกแต่ง ให้ไปในทิศทางเดียวกัน และบางครั้งยังต้องมีความรู้ในด้านอื่นๆเช่น โครงสร้างทางสถาปัตยกรรม ระบบแสงสว่าง และอื่นๆ เพื่อที่จะได้สามารถ แก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในงานออกแบบได้ เห็นหรือยังครับว่า มันไม่ง่ายอย่างที่คิดเลยใช่ไหมครับ แต่อย่าพึงตกใจ ครับ ถ้าเราค่อยๆศึกษาขั้นตอนต่างๆ การเป็นนักออกแบบที่ดี ก็ไม่ยากอย่างที่คิดหรอกครับ
มาเริ่มต้นเป็นนักออกแบบตกแต่งภายในกันเถอะครับ
สิ่งแรกที่นักออกแบบที่ดีควรจะมีคือ ความสามารถทางด้านศิลปะ แน่นอนครับ อย่างน้อยก็ต้องขีดๆเขียนๆเป็นรูปได้บ้างหล่ะ แต่ของแบบนี้มันก็ฝึกฝนกันได้ครับ ถ้าเราตั้งใจ บางทีคนที่มีพรสวรรค์ทางด้านนี้ ยังอาจจะแพ้พวกที่มีพรแสวง และอุตสาหะพยายาม เรื่องแบบนี้มีให้เห็นอยู่ทั่วไปครับ ต่อมาก็ต้องเป็นคนที่ช่างสังเกตุ เพราะงานออกแบบต้องอาศัยความเป็นคนช่างสังเกตุและจดจำ เพื่อจะได้นำมาพัฒนางานออกแบบให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งต้องเป็นคนที่มีความละเอียดรอบคอบ เพราะงานออกแบบที่ดีต้องใช้การใส่ใจในรายละเอียด เพื่อลดข้อผิดพลาดในงานออกแบบ ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องเป็นคนมีสุนทรียภาพมากกว่าคนทั่วไป แตสิ่งนี้เราพัฒนาเองได้จากการเรียนรู้ถึงคุณค่าของสิ่งต่างๆรอบตัวเรา เมื่อไหรเราสามารถเรียนรู้ว่าสิ่งใดสวยงามมากเพียงใด มีคุณค่ามากเท่าไร ในที่นี้คุณค่าที่มีอาจจะเป็นเพียงความพึงพอใจในสิ่งนั้นๆ ไม่จำเป็นต้องหมายถึงมูลค่าของสิ่งของนั้นๆ เมื่อนั้นเราก็จะเริ่มมีสุนทรียภาพมากขึ้น

มาเริ่มต้นเป็นนักออกแบบตกแต่งภายในกันเถอะครับ (ตอนที่ 2)
คราวที่แล้วเราได้พูดถึงพื้นฐานของการที่จะเป็นนักออกแบบที่ดีแล้ว นะครับ ว่าเราต้องเตรียมพร้อมอะไรบ้าง คราวนี้เราจะพูดถึง การเรียนรู้ที่จะนำจินตนาการของเรา ออกมาสร้างเป็นภาพกันครับซึ่งถ้าเราจะแบ่งเป็น 2 ส่วนง่ายๆคือ
1. วัสดุอุปกรณ์
ส่วนนี้เราจะพูดถึงวัสดุอุปกรณ์ประเภทต่างๆ ที่ใช้สำหรับเขียนแบบเบื้องต้นกันครับ

2. เทคนิดและวิธีการที่จะนำเสนอ
หัวข้อนี้เราจะพูดถึงเทคนิดในการเขียนภาพตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงสามารถนำเสนอผลงานจริงได้เลยครับ

ครับมาเข้าสู่รายละเอียดกันเลยดีกว่าครับอุปกรณ์เบื้องต้นที่จะต้องมีเริ่มจาก ดินสอ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้3 กลุ่มคือ
- ดินสอไม้ทั่วไป (Wood-cased Pencil)
เป็นดินสอที่หาซื้อได้ทั่วไป ไส้ดินสอจะมีความเข้มอ่อนแตกต่างกัน เช่น H,2H,3H,4H จะมีความแข็งของไส้ค่อนข้างมาก สีอ่อน เหมาะสำหรับร่างแบบ (Light layouts) F,HB,B จะมีความเข้มมากขึ้น ความแข็งของใส้จะไม่มากเท่าแบบแรก เหมาะสำหรับร่างแบบที่ต้องการความชัดเจน หรืองานเขียนทั่วไป(General purpose)s ส่วนขนาด 2B,3B,4B,5B, จนถึง 6B จะมีความอ่อนของใส้ค่อนข้างมากตามลำดับ มีความเข้มมากขึ้นตามตัวเลขที่มากขึ้นจึงเหมาะกับงานเขียนภาพ (sketching) และแลเงา (Rendering) ความแข็งและเข้มของไส้ อาจแตกต่างตาม ชนิดและยี่ห้อครับ ทางที่ดีก็ทดลองกับกระดาษทดสอบก่อนว่าตรงกับที่เราต้องการหรือไม่ครับ
- ดินสอกดไส้ใหญ่ (Traditional Leadholder)
ดินสอแบบนี้สะดวกกว่าแบบแรกเพราะสามารถเปลี่ยนขนาดความเข้มอ่อนของไส้ได้ตาม ต้องการในด้ามเดียว แต่ต้องใช้กับอุปกรณ์เหลาดินสอโดยเฉพาะของมันเองครับราคาค่อนข้างแพงแล้วแต่ ยี่ห้อและรุ่นครับ
ที่เห็นในภาพเป็นอุปกรณ์เหลาดินสอสำหรับดินสอกดใส้ใหญ่ของยี่ห้อ STAEDTLER ครับ (ผมไม่ได้ค่าโฆษณาหรอกนะครับ แต่ที่ผมใช้ก็ยี่ห้อนี้แหละครับ)
- ดินสอกดไส้เล็ก่ (Fine-line Mechanical pencil)
ดินสอแบบนี้เหมาะกับการเขียนแบบมากกว่างานเขียนภาพทั่วไปเพราะใส้มีขนาด เล็กและเปราะ ไม่เหมาะกันคนมือหนัก (ผมคนหนึ่งหล่ะครับ ที่ใช้ไม่ได้เลย) ไม่เหมาะกับการแลเงา(Rendering) ครับ ข้อดีคือมีขนาดความกว้างของเส้นให้เลือกใช้ได้ เช่น 0.25,0.35,0.5,0.75,1 มิลลิเมตร ขนาดของเส้นจะสม่ำเสมอโดยไม่ต้องเหลาและมีความเข้มของใส้ให้เลือกใช้เช่น เดียวกับดินสอไม้ทั่วไปเลยครับ

เมื่อเรารู้เรื่องดินสอสำหรับงานแบบแล้ว ครั้งหน้าเรามาดูเรื่องปากกา และอุปกรณ์ที่จะช่วยให้เราเขียนแบบได้สะดวกมากขึ้นกันครับ

มาเริ่มต้นเป็นนักออกแบบตกแต่งภายในกันเถอะครับ (ตอนที่ 3)
จากดินสอ เรามาพูดคุยกันเรื่องของปากกากันบ้างครับ ผมจะบอกเล่าเฉพาะประเภทต่างๆของปากกาและคุณสมบัติเท่านั้นนะครับ ส่วนประวัติความเป็นมาอย่างไร อะไรมาก่อนมาหลัง ผมจะไม่กล่าวถึงแล้วกัน มาเริ่มกันที่
1. ปากกาหมึกซึม (Fountain pen)
เป้นปากกา ประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมในงานเขียนทั่วไปครับ มีสีให้เลือก คือ ดำ แดง น้ำเงิน เขียว (อย่างหลังผมไม่ค่อยเห็นแล้วครับ) ภายในตัวด้ามปากกา มีใส้สำหรับเติมน้ำหมึก สามารถเปลี่ยนสีน้ำหมึกที่จะเติมได้(แต่ผมไม่แนะนำนะครับ)มีขนาดของเส้นให้ เลือกมากตามความเหมาะสม เช่น 0.3,0.5,0.75 เป็นต้น แต่ว่าปากกาประเภทนี้ไม่เหมาะกับงานเขียนแบบอย่างมากเพราะปลายปากกามีขนาด ใหญ่ น้ำหมึกมีความข้นน้อย ปัจุบัน มีหลอดหมึกสำเร็จ สามารถเปลี่ยนใส้หมึกได้เลยครับ
2. ปากกาลูกลื่น (Ballpoint pen)
ปากกาประเภทนี้มีใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน หาซื้อได้แม้กระทั่งใน seven eleven เขียนได้ลื่น เพราะปลายปากกาเป็นลูกบอลโลหะขนาดเล็กที่ควบคุมการไหลของหมึกให้ออกมาสม่ำเสมอ ส่วนใหญ่มีขนาดเส้นประมาณ 0.5 มิลลิเมตร นำ้หมึกมีความข้นพอสมควร จะแห้งทันทีที่เขียน มีให้เลือกหลายสีครับ เหมาะกับการเขียนทั่วๆไป แต่ถ้าจะนำมาเขียนในงานเขียนแบบที่ควรระวัง อย่างหนึ่งก็คือ เนื่องจากหัวลูกบอลโลหะจะเป็นตัวควบคุมการไหลของหมึกดังนั้นเวลาเราเริ่มต้นเขียน ในครั้งแรกจะมีปริมาณน้ำหมึกออกมามากในบริเวณหัวเส้นที่เราเขียน(ซี่งจะไม่แห้งทันทีเพราะปริมาณ หมีกจะมากกว่าปกติ) อาจจะทำให้เลอะเทอะสกปรกได้ ทางที่ีดีก่อนการลากเส้นทุกครั้ง ก็ลากปากกากับ กระดาษอื่นก่อนทุกครั้ง (จะลำบากก็ตรงนี้แหละครับ) ปัจจุบันปากกาหัวเข็ม (Pinball pen) ก็ใช้ลักษณะเดียวกันกับปากกาลูกลื่น คือมีหัวลูกบอลขนาดเล็ก แต่หมึกภายในมีลักษณะแตกต่างกันครับ
3. ปากกาหัวสักหลาด (woolen fabric pen)
เป็น ปากกาอีกประเภทหนึ่งที่ใช้ในงานเขียนทั่วไป งานวาดเขียน ส่วนหัวของปากกาจะเป็นวัสดุประเภทสักหลาด มีหลายขนาด และรูปแบบ บางชนิดสามารถนำมาใช้เขียนแบบได้ เพราะหัวมีขนาดเล็ก และมีขนาดให้เลือกตามต้องการ
4. ปากกาหัวเข็ม (pinball pen)บางประเภทก็มีหัวเป็นสักหลาด เช่นกันครับ

มาเริ่มต้นเป็นนักออกแบบตกแต่งภายในกันเถอะครับ (ตอนที่ 4)

    การเขียนแบบ คือ การเขียนภาพที่เป็นรูปร่างหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่แสดงถึงรายละเอียดของแบบที่เราได้กำหนดหรือออกแบบไว้ เพื่อนำแบบดังกล่าวไปสร้างเป็นผลงานจริงได้ครับ แต่ก่อนที่จะออกมาเป็นแบบที่เราจะส่งให้ช่างไปดำเนินการ ต้องผ่านขั้นตอนดังนี้ครับ เริ่มจากผู้เขียนแบบจะต้องเป็นผู้ถ่ายทอดความคิดและเขียนเป็นภาพ Sketch แล้วนำภาพ Sketch ดังกล่าว ไปเขียนแบบในเชิงเทคนิค ที่ประกอบด้วยภาพลายเส้นที่มีสัญลักษณ์ประกอบ และมีมาตราส่วนที่แสดงรายละเอียดไว้อย่างชัดเจนครับ โดยแบบทางเทคนิคนี้จะไม่มีคำบรรยายประกอบที่มากมาย แต่สามารถทำให้ผู้อ่านแบบเข้าใจความหมายได้อย่างรวดเร็วครับ ซึ่งทำให้การทำงานสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว แต่ในบางครั้งผู้เขียนแบบอาจจะต้องคำนวณความแข็งแรง ปริมาณ คุณภาพ และราคาวัสดุ ก่อนที่จะเริ่มเขียนแบบนะครับ
    คราวที่แล้วเราได้พูดถึงอุปกรณ์ในการเขียนแบบ คือ ดินสอ และปากกา กันไปแล้ว คราวนี้เราจะพูดถึงกระดาษที่ใช้ในการเขียนแบบกันครับ
   
    กระดาษเขียนแบบ จะเป็นกระดาษที่ไม่มีเส้นครับ โดยมีขนาดความหนาของกระดาษ 80 ปอนด์ ถึง 100 ปอนด์ ส่วนความกว้างและความยาวของกระดาษนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้เลยครับ
และที่ขาดไม่ได้ คือ ตารางรายการ เป็นตารางที่จะบอกรายละเอียดต่างๆ ของแบบครับ เช่น ชื่อของแบบงาน ,ชื่อผู้เขียนแบบ , มาตราส่วน , วัน/เดือน/ปี ที่เขียนแบบ และหมายเลขแบบ เป็นต้น โดยทั่วไปจะนิยมเขียนตารางรายการนี้ไว้ที่ด้านล่างของกระดาษเขียนแบบ ดังภาพด้านล่างครับ