เริ่มต้นเป็นนักออกแบบตกแต่งภายใน "มัณฑนากร”


               คำ ถามนี้หลายๆคนคงคิดเหมือนๆกัน จริงๆแล้วการที่เราจะตกแต่งบ้านเพื่ออยู่อาศัย หลายคนคงบอกว่า ทำเองตกแต่งเองก็ได้ก็ถูกต้องครับ แต่ว่าไม่ทั้งหมด เพราะว่าการออกแบบตกแต่งภายในนั้นถือเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยความ รู้ ความเข้าใจทางด้านศิลปะพอสมควรแล้วถ้าลงลึกเข้าไปจะเห็นว่าเราจำเป็นต้องมี ความรู้ ทางด้านสรีวิทยาเพื่อออกแบบให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ เฟอร์นิเจอร์ การวางพื้นที่ใช้สอยในส่วนต่างๆให้มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ต้องมีความรู้ทางด้านประวัติศาสคร์ศิลป์ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบหรือจัดหาเฟอร์นิเจอร์ และ ของตกแต่ง ให้ไปในทิศทางเดียวกัน และบางครั้งยังต้องมีความรู้ในด้านอื่นๆเช่น โครงสร้างทางสถาปัตยกรรม ระบบแสงสว่าง และอื่นๆ เพื่อที่จะได้สามารถ แก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในงานออกแบบได้ เห็นหรือยังครับว่า มันไม่ง่ายอย่างที่คิดเลยใช่ไหมครับ แต่อย่าพึงตกใจ ครับ ถ้าเราค่อยๆศึกษาขั้นตอนต่างๆ การเป็นนักออกแบบที่ดี ก็ไม่ยากอย่างที่คิดหรอกครับ
มาเริ่มต้นเป็นนักออกแบบตกแต่งภายในกันเถอะครับ
สิ่งแรกที่นักออกแบบที่ดีควรจะมีคือ ความสามารถทางด้านศิลปะ แน่นอนครับ อย่างน้อยก็ต้องขีดๆเขียนๆเป็นรูปได้บ้างหล่ะ แต่ของแบบนี้มันก็ฝึกฝนกันได้ครับ ถ้าเราตั้งใจ บางทีคนที่มีพรสวรรค์ทางด้านนี้ ยังอาจจะแพ้พวกที่มีพรแสวง และอุตสาหะพยายาม เรื่องแบบนี้มีให้เห็นอยู่ทั่วไปครับ ต่อมาก็ต้องเป็นคนที่ช่างสังเกตุ เพราะงานออกแบบต้องอาศัยความเป็นคนช่างสังเกตุและจดจำ เพื่อจะได้นำมาพัฒนางานออกแบบให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งต้องเป็นคนที่มีความละเอียดรอบคอบ เพราะงานออกแบบที่ดีต้องใช้การใส่ใจในรายละเอียด เพื่อลดข้อผิดพลาดในงานออกแบบ ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องเป็นคนมีสุนทรียภาพมากกว่าคนทั่วไป แตสิ่งนี้เราพัฒนาเองได้จากการเรียนรู้ถึงคุณค่าของสิ่งต่างๆรอบตัวเรา เมื่อไหรเราสามารถเรียนรู้ว่าสิ่งใดสวยงามมากเพียงใด มีคุณค่ามากเท่าไร ในที่นี้คุณค่าที่มีอาจจะเป็นเพียงความพึงพอใจในสิ่งนั้นๆ ไม่จำเป็นต้องหมายถึงมูลค่าของสิ่งของนั้นๆ เมื่อนั้นเราก็จะเริ่มมีสุนทรียภาพมากขึ้น

มาเริ่มต้นเป็นนักออกแบบตกแต่งภายในกันเถอะครับ (ตอนที่ 2)
คราวที่แล้วเราได้พูดถึงพื้นฐานของการที่จะเป็นนักออกแบบที่ดีแล้ว นะครับ ว่าเราต้องเตรียมพร้อมอะไรบ้าง คราวนี้เราจะพูดถึง การเรียนรู้ที่จะนำจินตนาการของเรา ออกมาสร้างเป็นภาพกันครับซึ่งถ้าเราจะแบ่งเป็น 2 ส่วนง่ายๆคือ
1. วัสดุอุปกรณ์
ส่วนนี้เราจะพูดถึงวัสดุอุปกรณ์ประเภทต่างๆ ที่ใช้สำหรับเขียนแบบเบื้องต้นกันครับ

2. เทคนิดและวิธีการที่จะนำเสนอ
หัวข้อนี้เราจะพูดถึงเทคนิดในการเขียนภาพตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงสามารถนำเสนอผลงานจริงได้เลยครับ

ครับมาเข้าสู่รายละเอียดกันเลยดีกว่าครับอุปกรณ์เบื้องต้นที่จะต้องมีเริ่มจาก ดินสอ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้3 กลุ่มคือ
- ดินสอไม้ทั่วไป (Wood-cased Pencil)
เป็นดินสอที่หาซื้อได้ทั่วไป ไส้ดินสอจะมีความเข้มอ่อนแตกต่างกัน เช่น H,2H,3H,4H จะมีความแข็งของไส้ค่อนข้างมาก สีอ่อน เหมาะสำหรับร่างแบบ (Light layouts) F,HB,B จะมีความเข้มมากขึ้น ความแข็งของใส้จะไม่มากเท่าแบบแรก เหมาะสำหรับร่างแบบที่ต้องการความชัดเจน หรืองานเขียนทั่วไป(General purpose)s ส่วนขนาด 2B,3B,4B,5B, จนถึง 6B จะมีความอ่อนของใส้ค่อนข้างมากตามลำดับ มีความเข้มมากขึ้นตามตัวเลขที่มากขึ้นจึงเหมาะกับงานเขียนภาพ (sketching) และแลเงา (Rendering) ความแข็งและเข้มของไส้ อาจแตกต่างตาม ชนิดและยี่ห้อครับ ทางที่ดีก็ทดลองกับกระดาษทดสอบก่อนว่าตรงกับที่เราต้องการหรือไม่ครับ
- ดินสอกดไส้ใหญ่ (Traditional Leadholder)
ดินสอแบบนี้สะดวกกว่าแบบแรกเพราะสามารถเปลี่ยนขนาดความเข้มอ่อนของไส้ได้ตาม ต้องการในด้ามเดียว แต่ต้องใช้กับอุปกรณ์เหลาดินสอโดยเฉพาะของมันเองครับราคาค่อนข้างแพงแล้วแต่ ยี่ห้อและรุ่นครับ
ที่เห็นในภาพเป็นอุปกรณ์เหลาดินสอสำหรับดินสอกดใส้ใหญ่ของยี่ห้อ STAEDTLER ครับ (ผมไม่ได้ค่าโฆษณาหรอกนะครับ แต่ที่ผมใช้ก็ยี่ห้อนี้แหละครับ)
- ดินสอกดไส้เล็ก่ (Fine-line Mechanical pencil)
ดินสอแบบนี้เหมาะกับการเขียนแบบมากกว่างานเขียนภาพทั่วไปเพราะใส้มีขนาด เล็กและเปราะ ไม่เหมาะกันคนมือหนัก (ผมคนหนึ่งหล่ะครับ ที่ใช้ไม่ได้เลย) ไม่เหมาะกับการแลเงา(Rendering) ครับ ข้อดีคือมีขนาดความกว้างของเส้นให้เลือกใช้ได้ เช่น 0.25,0.35,0.5,0.75,1 มิลลิเมตร ขนาดของเส้นจะสม่ำเสมอโดยไม่ต้องเหลาและมีความเข้มของใส้ให้เลือกใช้เช่น เดียวกับดินสอไม้ทั่วไปเลยครับ

เมื่อเรารู้เรื่องดินสอสำหรับงานแบบแล้ว ครั้งหน้าเรามาดูเรื่องปากกา และอุปกรณ์ที่จะช่วยให้เราเขียนแบบได้สะดวกมากขึ้นกันครับ

มาเริ่มต้นเป็นนักออกแบบตกแต่งภายในกันเถอะครับ (ตอนที่ 3)
จากดินสอ เรามาพูดคุยกันเรื่องของปากกากันบ้างครับ ผมจะบอกเล่าเฉพาะประเภทต่างๆของปากกาและคุณสมบัติเท่านั้นนะครับ ส่วนประวัติความเป็นมาอย่างไร อะไรมาก่อนมาหลัง ผมจะไม่กล่าวถึงแล้วกัน มาเริ่มกันที่
1. ปากกาหมึกซึม (Fountain pen)
เป้นปากกา ประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมในงานเขียนทั่วไปครับ มีสีให้เลือก คือ ดำ แดง น้ำเงิน เขียว (อย่างหลังผมไม่ค่อยเห็นแล้วครับ) ภายในตัวด้ามปากกา มีใส้สำหรับเติมน้ำหมึก สามารถเปลี่ยนสีน้ำหมึกที่จะเติมได้(แต่ผมไม่แนะนำนะครับ)มีขนาดของเส้นให้ เลือกมากตามความเหมาะสม เช่น 0.3,0.5,0.75 เป็นต้น แต่ว่าปากกาประเภทนี้ไม่เหมาะกับงานเขียนแบบอย่างมากเพราะปลายปากกามีขนาด ใหญ่ น้ำหมึกมีความข้นน้อย ปัจุบัน มีหลอดหมึกสำเร็จ สามารถเปลี่ยนใส้หมึกได้เลยครับ
2. ปากกาลูกลื่น (Ballpoint pen)
ปากกาประเภทนี้มีใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน หาซื้อได้แม้กระทั่งใน seven eleven เขียนได้ลื่น เพราะปลายปากกาเป็นลูกบอลโลหะขนาดเล็กที่ควบคุมการไหลของหมึกให้ออกมาสม่ำเสมอ ส่วนใหญ่มีขนาดเส้นประมาณ 0.5 มิลลิเมตร นำ้หมึกมีความข้นพอสมควร จะแห้งทันทีที่เขียน มีให้เลือกหลายสีครับ เหมาะกับการเขียนทั่วๆไป แต่ถ้าจะนำมาเขียนในงานเขียนแบบที่ควรระวัง อย่างหนึ่งก็คือ เนื่องจากหัวลูกบอลโลหะจะเป็นตัวควบคุมการไหลของหมึกดังนั้นเวลาเราเริ่มต้นเขียน ในครั้งแรกจะมีปริมาณน้ำหมึกออกมามากในบริเวณหัวเส้นที่เราเขียน(ซี่งจะไม่แห้งทันทีเพราะปริมาณ หมีกจะมากกว่าปกติ) อาจจะทำให้เลอะเทอะสกปรกได้ ทางที่ีดีก่อนการลากเส้นทุกครั้ง ก็ลากปากกากับ กระดาษอื่นก่อนทุกครั้ง (จะลำบากก็ตรงนี้แหละครับ) ปัจจุบันปากกาหัวเข็ม (Pinball pen) ก็ใช้ลักษณะเดียวกันกับปากกาลูกลื่น คือมีหัวลูกบอลขนาดเล็ก แต่หมึกภายในมีลักษณะแตกต่างกันครับ
3. ปากกาหัวสักหลาด (woolen fabric pen)
เป็น ปากกาอีกประเภทหนึ่งที่ใช้ในงานเขียนทั่วไป งานวาดเขียน ส่วนหัวของปากกาจะเป็นวัสดุประเภทสักหลาด มีหลายขนาด และรูปแบบ บางชนิดสามารถนำมาใช้เขียนแบบได้ เพราะหัวมีขนาดเล็ก และมีขนาดให้เลือกตามต้องการ
4. ปากกาหัวเข็ม (pinball pen)บางประเภทก็มีหัวเป็นสักหลาด เช่นกันครับ

มาเริ่มต้นเป็นนักออกแบบตกแต่งภายในกันเถอะครับ (ตอนที่ 4)

    การเขียนแบบ คือ การเขียนภาพที่เป็นรูปร่างหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่แสดงถึงรายละเอียดของแบบที่เราได้กำหนดหรือออกแบบไว้ เพื่อนำแบบดังกล่าวไปสร้างเป็นผลงานจริงได้ครับ แต่ก่อนที่จะออกมาเป็นแบบที่เราจะส่งให้ช่างไปดำเนินการ ต้องผ่านขั้นตอนดังนี้ครับ เริ่มจากผู้เขียนแบบจะต้องเป็นผู้ถ่ายทอดความคิดและเขียนเป็นภาพ Sketch แล้วนำภาพ Sketch ดังกล่าว ไปเขียนแบบในเชิงเทคนิค ที่ประกอบด้วยภาพลายเส้นที่มีสัญลักษณ์ประกอบ และมีมาตราส่วนที่แสดงรายละเอียดไว้อย่างชัดเจนครับ โดยแบบทางเทคนิคนี้จะไม่มีคำบรรยายประกอบที่มากมาย แต่สามารถทำให้ผู้อ่านแบบเข้าใจความหมายได้อย่างรวดเร็วครับ ซึ่งทำให้การทำงานสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว แต่ในบางครั้งผู้เขียนแบบอาจจะต้องคำนวณความแข็งแรง ปริมาณ คุณภาพ และราคาวัสดุ ก่อนที่จะเริ่มเขียนแบบนะครับ
    คราวที่แล้วเราได้พูดถึงอุปกรณ์ในการเขียนแบบ คือ ดินสอ และปากกา กันไปแล้ว คราวนี้เราจะพูดถึงกระดาษที่ใช้ในการเขียนแบบกันครับ
   
    กระดาษเขียนแบบ จะเป็นกระดาษที่ไม่มีเส้นครับ โดยมีขนาดความหนาของกระดาษ 80 ปอนด์ ถึง 100 ปอนด์ ส่วนความกว้างและความยาวของกระดาษนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้เลยครับ
และที่ขาดไม่ได้ คือ ตารางรายการ เป็นตารางที่จะบอกรายละเอียดต่างๆ ของแบบครับ เช่น ชื่อของแบบงาน ,ชื่อผู้เขียนแบบ , มาตราส่วน , วัน/เดือน/ปี ที่เขียนแบบ และหมายเลขแบบ เป็นต้น โดยทั่วไปจะนิยมเขียนตารางรายการนี้ไว้ที่ด้านล่างของกระดาษเขียนแบบ ดังภาพด้านล่างครับ

1 ความคิดเห็น: