Built it First Competition 2013 by B-1 MAGAZINE
B-1 Competition 2013 กลับมาพร้อมโจทย์งานใหม่ที่ท้าทายกว่า จากพื้นที่ว่างเปล่าบนหน้ากระดาษภายใต้โจทย์ Green Innovative (2011) และงานแก้ไขปัญหาประเทศไทยกับ Uncovering Thailand Competition (2012) ครั้งนี้ กลับเข้าสู่การแข่งขันบน ‘สนามจริง’ ที่เราจะไม่ใช่สิงห์สนามซ้อมอีกต่อไป กับการเฟ้นหาสุดยอดผลงานออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมที่จะช่วยส่งมอบโอกาสทาง การศึกษาแก่เยาวชน แก้ไขปัญหาภูมิทัศน์ ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างชนชั้น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ที่จะไม่ได้อยู่เพียงแค่หน้ากระดาษ หากแต่จะได้ออกไป ‘โลดแล่น’ เพื่อตอบสนองต่อปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม
CONCEPT
จากปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาเยาวชน ตลอดจนปัญหาในด้านการเข้าถึงการศึกษาของเยาวชน ก่อกำเนิดเป็นแนวคิดที่จะระดมความสามารถของสถาปนิกในการจัดสร้าง ‘ศูนย์การเรียนรู้และพักพิง’ แห่งใหม่ ที่จะประกอบด้วยห้องสมุด พื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กๆ ห้องเรียน ห้องนอน ห้องพยาบาล และห้องครัว เพื่อให้สถานที่แห่งนี้ เป็นที่สำหรับทั้งพ่อแม่ เด็กๆ รวมถึงทุกคนในชุมชน จะมีพื้นที่สาธารณะสำหรับการเรียนรู้ การพักผ่อน และการใช้เวลาว่างอย่างสร้างสรรค์ รองรับและตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวของชุมชนอย่างแท้จริง พร้อมยกระดับภูมิทัศน์และสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีของคนในพื้นที่ให้แน่น แฟ้นยิ่งขึ้น โดยไม่ทำลายอัตลักษณ์ดั้งเดิมหรือถูกทำให้เลือนหายไปตามความเปลี่ยนผ่านใดๆ
B-1 Magazine เชิญชวนนิสิต/นักศึกษา ร่วมเสนอกระบวนการคิดที่เชื่อว่าจะเป็น ‘หนทาง’ ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาข้างต้น โดยไม่จำเป็นต้องอิงทฤษฎีทางการออกแบบใดๆ ไม่กำหนดขอบเขต และไม่จำกัดรูปแบบทางสถาปัตยกรรม นิสิต/นักศึกษาสามารถค้นคว้าหาทฤษฎีใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับโครงการของตนได้ (นำเสนอแนวคิดพร้อมข้อมูลอ้างอิงที่ตนศึกษาและนำมาใช้ เน้นย้ำถึงการนำไปสร้างจริง!) ทั้งนี้การแข่งขันจะเน้นย้ำไปที่กระบวนการคิด ประโยชน์สูงสุดที่กลุ่มคนผู้ซึ่งจะต้องดำเนินชีวิตภายใต้ชายคาของ สถาปัตยกรรมแห่งนี้จะได้รับ รวมถึงการให้รายละเอียด ทั้งการค้นคว้าข้อมูลอ้างอิง การคำนึงถึงบริบทแวดล้อม ตลอดจนแตกลายแนวคิดมาสู่งานสถาปัตยกรรมที่เสร็จสมบูรณ์
โปรแกรมการออกแบบ:
เงื่อนไขการประกวด:
- ผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมประกวดแบบต้องเป็นนิสิตและนักศึกษา
- ผู้เข้าร่วมประกวดสามารถส่งประกวด ‘แบบเดี่ยว’ (เป็นเจ้าของผลงานเพียงคนเดียว) หรือ ‘แบบกลุ่ม’ (เป็นเจ้าของผลงานร่วมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป)
- ผู้เข้าประกวดมีสิทธิ์ส่งผลงานได้มากกว่า 1 ผลงาน แต่ในกรณีที่พิจารณาให้รางวัลจะให้เพียงผลงานที่ดีที่สุดเท่านั้น
- ผลงานทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งที่ส่งเข้า ประกวดจะต้องไม่ใช่แนวคิดและรูปแบบที่ไม่เคยนำเสนอที่ใดมาก่อน และจะต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นที่อาจก่อให้เกิดปัญหากับองค์กรใดๆ ซึ่งหากเกิดความเสียหายภายหลังผู้เข้าประกวดต้องเป็นผู้รับผิดชอบ รวมถึงจะถูกตัดสินว่าผลงาน เป็นโมฆะและไม่มีสิทธิ์รับรางวัลใดๆ ทั้งสิ้น
- ลิขสิทธิ์ของผลงานเป็นของผู้ส่งเข้าประกวดนั้นๆ หากแต่ B-1 มีสิทธิ์ในการตีพิมพ์ แสดงผลงาน ตลอดจนแนวคิดและข้อมูลในทุกๆ ส่วนของผลงานทุกชิ้นต่อสาธารณะชนได้ในทุกรูปแบบ
- ความเสียหายจากการขนส่งผลงานก่อนจะมาถึงทาง B-1 ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งผลงาน ทั้งหมด
- ผลงานที่ส่งเข้าประกวด หากไม่ถูกต้องตามกติกาการประกวดข้อใดข้อหนึ่ง จะไม่ได้รับการพิจารณา หากมีการท้วงติงถึงการทาผิดกติกาข้อใดข้อหนึ่งและสามารถพิสูจน์ได้ว่าทา ผิดกติกาจริง ผู้จัดการประกวดสามารถยกเลิกและเปลี่ยนแปลงการตัดสิน รวมทั้งขอคืนรางวัลได้ทั้งหมด
- คณะกรรมการตัดสินมีสิทธิ์กาหนดวิธีการตัดสิน โดยผลการตัดสินของกรรมการให้ถือเป็นที่สิ้นสุด และไม่รับการอุทธรณ์ใดๆ ทั้งสิ้น
รายละเอียดการนำเสนอผลงาน:
- ทาง B-1 ไม่จำกัดเทคนิคการนำความคิดใดๆ ทั้งสิ้น กล่าวคือผู้เข้าประกวดสามารถใช้เทคนิคจากคอมพิวเตอร์ ดรออิ้งขาว-ดำ เทคนิคการระบายสี ฯลฯ ในการชี้แจงความคิดได้อย่างเสรี
- ข้อความที่ใช้สำหรับการแสดงแนวความคิดต่างๆ ต้องเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษเท่านั้น
วิธีการและเงื่อนไขในการติดตั้งผลงานที่พร้อมส่งเข้าประกวด:
- ผู้เข้าประกวดแต่ละคนต้องนำเสนอผลงานเป็น ‘แนวตั้ง’ ในกระดาษ ขนาด A1 (594 x 890 มม.) จำนวน 2 แผ่น (กล่าวคือทุกองค์ประกอบผลงาน ไม่ว่าจะเป็นแนวความคิด/ภาพ perspective ฯลฯ ต้องถูกนำเสนอผ่านกระดาษ A1 จำนวน 2 แผ่นเท่านั้น หากนำเสนอแค่ 1 แผ่น หรือกระดาษอื่นๆ ที่ไม่ใช่ขนาด A1 จะไม่ได้รับการพิจารณาทั้งสิ้น)
- ผลงานทุกชิ้นต้องถูกติดตั้งบนฟิวเจอร์บอร์ดสีขาวขนาด A1 (ขนาดพอดีกับผลงาน)
- ด้านหลังของฟิวเจอร์บอร์ดทั้ง 2 แผ่นจะต้องแสดงรายละเอียดดังนี้
- ลำดับของผลงาน (เพื่อชี้แจงว่าแผ่นใดเป็นลำดับที่ 1 และ 2) โดยแจ้งเป็นเลขอาระบิค สูง 1 นิ้ว บริเวณมุมขวาด้านบนของผลงานทั้ง 2 แผ่น
- สัญลักษณ์แทนชื่อผู้เข้าประกวด (เพื่อแสดงความเป็นกลางต่อการพิจารณาตัดสิน และเพื่อแยกแยะผลงานสำหรับผู้ที่ส่งผลงานในชื่อเดียวกันจำนวนมากกว่า 1 ชิ้น) โดยผู้เข้าประกวดต้องกำหนดสัญลักษณ์ด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหม่ 3 หลัก และตัวเลขอาระบิค 3 หลัก เช่น ABC123 สูง 1 นิ้ว แจ้งอย่างชัดเจนบริเวณมุมขวาด้านล่างของผลงานทั้ง 2 แผ่น
- พิมพ์ชื่อ-นามสกุล อายุ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ และปริ้นลงในกระดาษขนาด A4 โดยแนบมาพร้อมกับสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาประจำตัวนักศึกษา ซึ่งเอกสารดังกล่าวต้องถูกพับและใส่ซองเอกสารสีน้ำตาลขนาด A4 ปิดผนึกอย่างแน่นหนา จากนั้นให้จ่าหน้าซองด้วยสัญลักษณ์แทนชื่อผู้เข้าประกวด (ตัวอักษรและตัวเลขเดียวกับที่แจ้งไว้หลังผลงาน) สูงขนาด 1 นิ้ว และติดไว้บริเวณตรงกลางของผลงานทั้ง 2 แผ่น
เกณฑ์ในการตัดสิน
- แนวคิดและกระบวนการการออกแบบ
- การคำนึงถึงบริบทแวดล้อม การแก้ไขปัญหา ตลอดจนความสมเหตุสมผลของข้อมูลที่ถูกนำมาอ้างอิงประกอบแนวความคิด
- โปรแกรม วัสดุ และความเหมาะสมในการนำไปก่อสร้างจริง
- วิธีการการนำเสนอรายละเอียดต่อคณะกรรมการ
กำหนดการ:
- วันสุดท้ายของการรับผลงาน : 30 สิงหาคม 2556 (ในกรณีที่ส่งผลงานทางไปรษณีย์จะถือวันที่ประทับตราบนพัสดุไปรษณีย์เป็นหลัก)
- คัดเลือกผลงาน : 6 กันยายน 2556
- ประกาศผลงานตัดสินผู้เข้ารอบ 10 ผลงานสุดท้ายทางนิตยสารและเวบไซต์ของ B-1 Magazine : 10 กันยายน 2556
- นัดหมายผู้เข้ารอบ 10 คนสุด มาพรีเซ้นท์ผลงาน / พร้อมทั้งแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน : 13 กันยายน 2556
แสดงผลงาน:
- ผลงานชนะเลิศ 3 อันดับสูงสุดจะได้แสดงผลงานที่ CDC ตั้งแต่วันที่ 12-20 กันยายน 2556. ได้รับตีพิมพ์ลงนิตยสาร B-1 และลงเวบไซต์ www.b1mag.com รวมถึงแผยแพร่ผลงานลงสื่อมวลชนชื่อดังอื่นๆ
- ผลงานที่ได้รับคัดเลือก 10 ทีมสุดท้ายจะได้แสดงผลงานที่ CDC ตั้งแต่วันที่ 12-20 กันยายน 2556. รวมถึงได้ตีพิมพ์ลงนิตยสาร B-1 และลงเวบไซต์ www.b1mag.com
- ผลงานที่ไม่ได้รับคัดเลือกแต่ถูกใจกรรมการจะได้ตีพิมพ์ลงนิตยสาร B-1 และลงเว็บไซต์ www.b1mag.com
รางวัล:
- Winner Prize 50,000 บาท
- Runner-Up 1st Prize 30,000 บาท
- Runner-Up 2nd Prize 20,000 บาท
- ผู้ชนะทั้ง 3 อันดับจะได้รับของรางวัลจากการสนับสนุนจากสปอนเซอร์ และเป็นสมาชิกนิตยสาร B-1 ฟรี 1 ปี
ส่งผลงานได้ที่:
บริษัท Cypher Communication จำกัด
177 ชั้น 3 ซ.น้อมจิต ถ.ริมคลองประปา บางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
อัพเดตข่าวสารได้ที่ www.b1mag.com
*ผลงานชนะเลิศอาจถูกนำไปพัฒนาแบบเพื่อต่อยอดในการสร้างจริงในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น