สถาปัตยกรรมหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร



แนวความคิดในการออกแบบ

แนวความคิดหลัก 4 ประการ ที่นำมาใช้ในการพัฒนาแนวความคิดในการออกแบบ คือ:

1 >
อาคารที่มีความยืดหยุ่นสูงในการใช้สอยและเอื้อต่อการปรับเปลี่ยน เพื่อให้การจัดแสดงงานศิลปะ เป็นไปอย่างอิสระ ภายในพื้นที่หลากหลายซึ่งมี แสง ขนาด และลักษณะแตกต่างกัน
2 >
อาคารที่มีคุณลักษณะเหมาะสมและอิงรูปลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย เป็นตัวแทนอันสำคัญของวัฒนธรรมไทย มีความน่าตื่นเต้น เชื้อเชิญ ตอบสนองต่อประโยชน์ใช้สอย และต้องสะท้อนความเคลื่อนไหวของศิลปะไทยร่วมสมัย
3 >
อาคารออกแบบให้มีพื้นที่ (Space) ภายในสูง เพื่อให้เหมาะสมกับการแสดงงานศิลปะ นอกจากนี้พื้นที่ใจกลางอาคารแสดงถึงเอกลักษณ์ของอาคาร ซึ่งเป็นตัวกำหนดภาพรวมของงานตกแต่งภายในทั้งหมด

นอกจากนี้ มีการรวมส่วนร้านค้าเข้าเป็นส่วนบริการเสริมของหอศิลปฯ และการเลือกร้านค้าอย่างเหมาะสมให้เกี่ยวโยงกับศิลปะก็จะเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างส่วนพาณิชย์และส่วนศิลปะ

รูปทรงของอาคาร

ถึงแม้ว่าตัวอาคารจะประกอบด้วยพื้นที่ใช้ สอยที่แยกจากกัน รวมทั้งพื้นที่ร้านค้า แต่ ก็มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทาง สถาปัตยกรรม พื้นที่ภายในพัฒนาจากจุด ศูนย์กลางคือ พื้นที่เปิดโล่งทรงกระบอกซึ่ง นำเสนอจุดเด่นแก่สายตาเมื่อเข้าสู่อาคาร พื้นที่เปิดโล่งส่วนกลางนี้ยังนำสายตาสู่ชั้น บนของอาคาร รูปทรงซึ่งมีจุดศูนย์กลาง เช่นนี้ทำให้เห็นกิจกรรมในพื้นที่ใช้สอยอัน หลากหลาย เนื่องจากอาคารนี้เป็นอาคาร เพื่อสาธารณะชน ความตื่นเต้นเร้าใจจาก การแสดงให้เห็นกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นตัวปลุกให้เกิดการตอบสนองจากชุมชน พื้นที่ส่วนกลางนี้ยังทำให้เกิดความชัดเจน ของการเข้าถึงและความยืดหยุ่นของอาคาร อาคารนี้ออกแบบให้เป็นพื้นที่ต่อเนื่องใน อนาคตด้วย หากมีความต้องการที่จะปรับ เปลี่ยนส่วนร้านค้าบางส่วนให้เป็นพื้นที่ใช้ งานทางศิลปะก็สามารถทำได้ไม่ยาก

ภาพลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม

อาคารมีความทันสมัยแต่ขณะเดียวกันก็อิง รูปทรงที่แสดงประวัติหรือเอกลักษณ์ไทย การออกแบบทางสถาปัตยกรรมครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นลักษณะรูปร่างและรูปทรง ความเป็นไทยหลายประการ ได้แก่
  • การนำการสอบเข้าของผนังซึ่งเป็นส่วน หนึ่งของสถาปัตยกรรมไทย มาประกอบ การออกแบบรูปทรงของอาคารภายนอก
  • ช่วงหน้าต่างแคบๆ ซึ่งเป็นรูปทรงแบบ ไทยๆ ได้นำมาดัดแปลงให้เกิดเป็นองค์ ประกอบสมัยใหม่ในลวดลายและรูปทรง ทั้งยังเป็นส่วนควบคุมแสงธรรมชาติไม่ให้ เข้าสู่อาคารมากเกินไปทางด้านทิศตะวันตก
  • การนำรูปแบบส่วนโค้งของหลังคาทรง ไทย และรูปทรงอื่นๆ ของไทย เช่น ท่วงทีท่ารำ มาเป็นส่วนประกอบของ หลังคาและแผงกันแดดเหนือหลังคากระจก ห้องแสดงนิทรรศการ 

แนวความคิดการออกแบบภายใน

พื้นที่ศูนย์กลาง

โถงกลางชั้น 1 ได้รับการออกแบบให้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการเสนอภาพลักษณ์ ของอาคาร และเป็นเสมือนตัวเชื่อมโยงภาพรวมของกิจกรรมทั้งหลาย มีบทบาท กระตุ้นระหว่างงานศิลปะและประชาชนที่สนใจ นับเป็นพื้นที่สาธารณะอย่างแท้จริง ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมหลายหลากให้ปฏิสัมพันธ์กับประชาชน ทำให้สามารถเห็น กิจกรรมต่างๆในอาคารนี้ และนำไปสู่งานศิลปะภายในห้องจัดแสดง พื้นที่โถงกลาง เป็นทรงกลมในผังพื้นและถูกคลอบด้วยช่องแสง (Skylight) เส้นทางสัญจรในส่วน หอศิลปฯโดยพื้นลาด (Ramp) ได้ยึดเอารูปโค้งเวียนรอบพื้นที่โถงกลางนี้ ทำให้ สามารถเห็นกิจกรรมต่างๆ ในอาคารนี้

ห้องจัดนิทรรศการ

เน้นความยืดหยุ่น ความหลากหลาย และความน่าสนใจของห้องแสดงงานศิลปะ ห้อง
แสดงงานศิลปะจึงเป็นส่วนที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เกิดความหลากหลายด้านพื้นที่
(Space) ลักษณะ (Characteristic) ในการแสดงผลงานด้านศิลปะ


สถาปนิก : บริษัท โรเบิร์ต จี บุย แอนด์ แอสโซซิเอทส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น